share

รู้หรือไม่ ? คนไทยป่วยเป็นโรคภูมิแพ้มากกว่า 10 ล้านคน

Last updated: 29 Jan 2024
65 Views
รู้หรือไม่ ? คนไทยป่วยเป็นโรคภูมิแพ้มากกว่า 10 ล้านคน

โรคภูมิแพ้เป็นกลุ่มของโรคที่เกิดขึ้นได้ในคนบางกลุ่ม เนื่องจากร่างกายของคนเรานั้นมีความแตกต่างกัน คนที่มีปฏิกิริยาต่อสารที่เข้าไปในร่างกายผิดไปจากคนส่วนใหญ่ โรคภูมิแพ้เป็นกลุ่มของโรคที่เกิดขึ้นได้ในคนบางกลุ่ม เนื่องจากร่างกายของคนเรานั้นมีความแตกต่างกัน คนที่มีปฏิกิริยาต่อสารที่เข้าไปในร่างกายผิดไปจากคนส่วนใหญ่ มักจะพบโรคกลุ่มนี้ได้บ่อยในประชากรทั่วโลกรวมทั้งชาวไทยด้วย อาการของโรคภูมิแพ้เกิดขึ้นเนื่องจากปฏิกิริยาระหว่างสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งเป็นสารจากภายนอกเข้าไปในร่างกาย และภูมิแพ้ซึ่งเป็นสิ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นภายหลังได้รับสารก่อภูมิแพ้เข้าไปกระตุ้นในครั้งก่อนๆ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นอาจทำให้เกิดโรคขึ้นได้ในหลายระบบอวัยวะสุดแต่ว่าบุคคลนั้นจะมีระบบอวัยวะใดเป็นที่ตอบสนอง อาจแสดงออกในระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด หรือ อาจแสดงออกทางผิวหนัง เช่น ลมพิษ หรืออาจแสดงออกทางระบบทางเดินอาหาร เช่น อาเจียน อุจจาระร่วง บางรายเกิดปฏิกิริยารุนแรงจนทำให้เกิดอาการหลายระบบพร้อมกัน เช่น มีอาการช็อก หายใจไม่ออก และอาจถึงแก่กรรมในระยะเวลาอันสั้นได้ ภาวะเช่นนี้เรียกว่าอะนาฟัยแลกซิส หรือ ภูมิแพ้รุนแรง (anaphylaxis)
ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ในประเทศไทยกว่า "10 ล้านคน" พบทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ทั้งนี้ในอนาคตจะมีแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่หากผู้ป่วยมีการดูแลรักษาตัวเองอย่างถูกวิธี สามารถบรรเทาอาการหรือหายขาดจากโรคได้ ด้วยรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงของคนทำให้ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ ต้องประสบกับภาวะกระตุ้นให้เกิดโรคขึ้นมาเรื่อยๆ ทั้งมลภาวะทางอากาศ อาหาร ล้วนส่งผลกระตุ้นโรคทั้งสิ้น รวมทั้งปัจจุบันโรคภูมิแพ้ได้รับความสนใจจากบุคคลเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยหรือญาติของผู้ป่วยเท่านั้น ทำให้ความรู้ในการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันโรคยังจำกัดอยู่ในวงแคบๆ แม้ในปัจจุบัน จะมีการใช้วัคซีนที่ช่วยบรรเทาอาการของโรคหืดหอบได้แล้ว แต่จำนวนผู้ป่วยยังคงมีจำนวนเพิ่มขึ้นทำให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและภาวะเศรษฐกิจ การพัฒนาวัคซีนดังกล่าวให้เป็นวัคซีนป้องกันเช่นโรคอื่น ๆ จะต้องใช้เวลาจึงจะประสบผลสำเร็จ อีกสาเหตุหนึ่งที่เป็นปัญหาในการดูแล รักษา และให้ความรู้ผู้ป่วยไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร มาจากจำนวนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญที่มีอยู่ไม่เพียงพอ

ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ * ข้อมูลปี2011 ซึ่งในปัจจุบันผู้ป่วยอาจจะเพิ่มขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ