share

ข้อห้ามและอาการหลังจากการนวด

Last updated: 30 Jan 2024
45 Views
ข้อห้ามและอาการหลังจากการนวด

การนวดแผนไทย หรือ เก้าอี้นวดไฟฟ้า เป็นการบำบัดและรักษา โดยจะเน้นในลักษณะการกด การคลึง การบีบ การดัด การดึง และการอบ ประคบ เพื่อการรักษา ฟื้นฟูอาการเจ็บป่วยให้ดีขึ้น เป็นการส่งเสริมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงปราศจากโรค

เชื่อว่าหลายๆท่านคงจะเคยได้รับการนวดทั่วไป นวดแผนไทยบ หรือนวด โดย เก้าอี้นวดไฟฟ้า มาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการนวดเพื่อบำบัด รักษาอาการปวดตึงกล้ามเนื้อส่วนต่างๆเช่น ปวดบ่า ปวดคอ ปวดหลัง ปวดเอว หรือส่วนอื่นๆของร่างกายเป็นต้น หลายครั้งที่เราจะรู้สึกว่า หลังรับการนวดแล้วอาการปวดส่วนต่างๆนั้นมีอาการปวดลดลงหาย หรือดีขึ้น รู้สึกร่างกายได้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อลดอาการปวดตึงส่วนต่างๆของร่างกาย รู้สึกถึงความสบายกาย และสบายใจหลังการรับการรักษา ซึ่งนับว่าล้วนแต่เป็นข้อดีของการนวดทั้งสิ้น



ข้อห้ามในการนวดแผนไทย หรือ นวดด้วยเก้าอี้นวดไฟฟ้า

ในกรณีที่มีอาการเหล่านี้ ห้ามทำการนวด อาจเกิดอันตรายได้

1. โรคติดเชื้อมีไข้ครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้มากกว่า 38 องศาเซลเซียส ปวด บวม แดง ร้อน
2. โรคผิวหนัง เพราะจะทำให้เชื้อแพร่ออกไปบริเวณเบาะหนัง และแพร่มาสู่ผู้นวดได้
3. ขณะมีอาการอักเสบอยู่แล้วถ้าทำการนวดซ้ำ จะทำให้การอักเสบมากขึ้น
4. บริเวณที่มีบาดแผลห้ามนวด อาจทำให้แผลซ้ำ หรือแผลปริแยก
5. บริเวณที่เป็นมะเร็ง จะทำให้มะเร็งแพร่ออกไป


อาการหลังการนวดแบบไหนที่เป็นผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการรักษาด้วยการนวด ที่พบบ่อย ก็คือ อาการระบมหลังการนวด เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง?

1. ผู้มารับการนวดมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว คล้ายจะมีไข้ แล้วมานวด มีไข้ หรือมีไข้ต่ำๆแล้วมานวด หมอนวดจึงต้องมีการซักประวัติ ตรวจร่างกายค่าความดันโลหิต ชีพจร อุณหภูมิ และอัตราการหายใจการนวดเพื่อเป็นการคัดกรองโรคหรืออาการต้องห้ามนวดเพื่อลดความรุนแรงหลังการนวด


2. อาการอักเสบของร่างกายผู้ถูกนวดคือ จะมีอาการ ปวด บวม แดง ร้อน เช่น อาการกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นอักเสบเฉียบพลัน หรือในขณะที่มีอาการอักเสบของอวัยวะภายในร่างกายไม่ควรนวดรุนแรง ควรใช้เพียงการการประคบเย็นใน 24-48 ชั่วโมงแรกหลังการบาดเจ็บ และหลังจากนั้นควรใช้การประคบร้อนเพื่อลดอาการปวด ตึงของกเกินไปกล้ามเนื้อ


3. จากสาเหตุการกดนวด ด้วยน้ำหนักมือ แรงเกินไป โดยผู้ถูกนวดสามารถแจ้งหมอนวดว่า แรงเกินไป มีอาการเจ็บจากการนวดในขณะที่กำลังนวด เพื่อที่หมอนวดจะได้ทราบว่าผู้ป่วยรู้สึกเจ็บจะได้ผ่อนน้ำหนักมือให้เบาลง หรือ ถ้าเป็น เก้าอี้นวดไฟฟ้า หรือ เครื่องนวดไฟฟ้า ผู้นวดทำการลด หรือ ปรับ ระดับการนวดให้เหมาะสมต่อสภาพร่างกายในขณะนั้น ก็จะช่วยลดอาการบาดเจ็บลงได้ขณะกำลังนวดเช่นกัน



4. เป็นการนวดรักษาลดอาการปวดตึงของกล้ามเนื้อมักจะพบอาการระบมหลังการนวดได้ง่ายกว่าการนวดเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และมักพบบ่อยในผู้ที่มารับการนวดเป็นการนวดครั้งแรก หรือห่างหายจากการนวดมานาน กล้ามเนื้อไม่คุ้นชินกับการนวด เนื่องจากผู้รับการนวดแต่ละคน มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อไม่เท่ากัน ดังนั้น หมอนวดควรต้องประเมินกล้ามเนื้อของผู้ถูกนวด ว่าควรใช้น้ำหนักมือลงแรงกด หรือควรเลือกการกดนวดแบบไหนที่เหมาะสมแก่ผู้มารับบริการการนวดแต่ละรายต่างกัน


แล้วหลังรับบริการนวด จะรักษาหรือดูแลตัวเองอย่างไร?

ปกติแล้ว อาการไม่พึงประสงค์หลังการนวดที่พบบ่อย ได้แก่ อาการกล้ามเนื้อระบมหลังการนวด มีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว รู้สึกตัวว่าไม่มีแรงหลังจากการนวด และ/หรือ มีไข้หลังการนวด โดยปกติอาการพวกนี้สามารถเกิดขึ้นได้และหายได้เองภายใน 1 ถึง 2 วันหลังการนวด โดยไม่ต้องรับประทานยาบรรเทาปวด อาจใช้เพียงการประคบ โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นบิดหมาดๆประคบบริเวณที่ปวด ไม่ควรอาบน้ำทันที แนะนำให้อาบหลัง 2 ชม.ไปแล้ว ควรดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำอุณหภูมิปกติ หลังการนวด และนอนพักผ่อนให้เพียงพอ ลดการใช้งานกล้ามเนื้อ ลดการทำงานหนัก และหลีกเลี่ยงการตากแดด ตากฝน เพื่อป้องกันการเป็นไข้ อาการก็จะสามารถหายได้เอง แต่หากมีมีอาการรุนแรงและเป็นอยู่หลายวัน ควรรับประทานยาบรรเทาปวดได้ ถ้ายังไม่หายควรไปรับการปรึกษากับแพทย์ เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด

ที่มา https://www.ttmed.psu.ac.th/th/blog/203



บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ